การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach )
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ความคิด สัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก
การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้
1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน
3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษา ครูต้องอ่านและเขียนให้เด็กได้เห็น เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน
4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน
6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้
การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล
การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนความเชื่อหรือปรัชญาของผู้จัด การสอนภาษาแบบธรรมชาติของการสอนภาษาจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม แสดงให้เห็นว่าการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น ซึ่งสภาพแวดล้อมที่สามารถส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กสามารถสรุปได้ ดังนี้1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอื้อต่อการเรียนภาษาได้โดยจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะต้องเป็นห้องเรียนที่เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
บทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ
เนื่องจากการสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งเป็นกรอบให้ครูในการตัดสินใจและออกแบบการสอน ดังนั้น เมื่อมีการนำการสอนภาษาแบบธรรมชาติมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนจากการสอนแบบเดิม คือ1. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ครูต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสภาพ-แวดล้อม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ หรือแหล่งข้อมูลสำหรับเด็ก และเป็นผู้ที่จัดให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น ให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน สนับสนุนให้เด็กกล้าที่จะอ่านและเขียนคำที่ไม่เคยพบมาก่อน ยอมรับและตอบสนองต่อความพยายามของเด็กในทางบวก ไม่ตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเด็กอ่านหรือเขียนยังไม่ถูก
2. ครูเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ ครูต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ทั้งในลักษณะของการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือ เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การชี้คำขณะที่อ่าน การถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน เป็นต้น
3. ครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องจัดการให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ต้องให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือ และต้องให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน
4. ครูเป็นผู้ประเมินพัฒนาการ เพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป
บทบาทเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ
1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการที่ใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง
3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็ก
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
1. การประเมินต้องเป็นไปตามธรรมชาติการรู้หนังสือของเด็ก ครูต้องศึกษาพัฒนาการด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของเด็กแล้วนำหัวข้อเหล่านี้มาสร้างเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมิน2. การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน และต้องประเมินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าจะพัฒนาเด็กอย่างไร
3. การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่แท้จริง ซึ่งจะต้องมีทั้งการสังเกต บันทึก และการเก็บตัวอย่างงาน โดยครูจะต้องแปลผลข้อมูลอย่างรอบคอบเพื่อให้ผลการประเมินมีความตรงและความเที่ยง
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของเด็ก จึงจำเป็นต้องจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ดังนี้1. ผู้ปกครองควรศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร และการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาล ซึ่งครูควรเป็นผู้ที่สื่อสารให้ผู้ปกครองรับทราบด้วยวิธีการต่างๆ ให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กในทิศทางเดียวกันกับทางโรงเรียน
2. ผู้ปกครองอาจมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยการร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เช่น เข้าร่วมประชุมกับทางโรงเรียน เยี่ยมชมชั้นเรียน สังเกตการสอน หรือให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียน เช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็ก
3. ผู้ปกครองสามารถช่วยพัฒนาภาษาของเด็กได้โดยการสนทนาและตอบคำถามของเด็กอย่างสม่ำเสมอ จัดหาหนังสือนิทานให้เด็ก อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ จัดให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน เป็นกำลังใจแก่เด็ก เพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียน พยายามไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือตำหนิสิ่งที่เด็กเขียน และผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา
ค้นมาจาก
http://www.nareumon.com/index.php?option=com_content&task=view&id=17&Itemid=50
สรุปจากบทความ
การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีคุณค่าต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ นอกจากนี้การจัดสภาพแวดล้อมที่ดี และการมีแบบอย่างที่ดียังมีส่วนช่วยให้เด็กมีความสนใจในการเรียนเพิ่มขึ้นอีกด้วย8 กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การสอนภาษาให้สนุกกับเด็กเราต้องมีกิจกรรมพิสูจน์ความสามารถของเด็กด้วยและกิจกรรมนั้นไม่ควรยากเกินความสามารถของเด็ก และควรมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือเพื่อตองสนองความแตกต่างของเด็กๆ กิจกรรมมีทั้งหมด 8 กิจกรรม ดังนี้
1.เรื่องเล่าเช้านี้ ให้เด็กๆแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันของแต่ละคนให้ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนๆ การสนทนาที่สำคัญคุณครูต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องกับเด็กและครูจะต้องสอนมารยาทในการฟังการพูดแก่เด็กด้วย
2.อยากจะอ่านดังๆ ครูควรเลือกหนังสือที่เด็กๆสนใจมาสัก 1 เล่ม และให้เด็กๆได้อ่านออกเสียงกันเป็นประจำเพราะช่วงเวลาของเด็กในตอนนี้เด็กจะมีความสุขและความรู้สึกดีต่อการอ่าน ครูควรแนะนำให้เด็กๆรู้จัก ชื่อผู้แต่ง ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ ในการอ่านครูควรชี้นิ้วไปตามเรื่องที่อ่านด้วยหรือตั้งคำถามให้กับเด็กๆเพื่อให้เด็กๆได้ร่วมคาดเดากับเหตุการณ์ที่จะเกิดล่วงหน้า
3.หนูเล่าอีกครั้ง เมื่อนิทานเล่มสนุกของเด็กๆจบลง คุณครูควรลองให้เด็กๆนำนิทานกลับมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆได้ฟังบ้างก่อนที่คุณครูจะให้เด็กเล่าควรใช้คำถามกระตุ้นเด็กๆควรจับใจความสำคัญ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเด็ก
4.อ่านด้วยกันนะ หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ Big book จะช่วยในเรื่องภาษาของเด็กๆ คุณครูชวนเด็กๆมาพูดคุยถึงเรื่องที่จะนำมาเล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและให้เด็กมีพื้นฐานในการฟังแล้วจึงค่อยอ่านให้เด็กๆฟังและควรชี้นิ้วไปด้วยเพื่อให้เด็กๆได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความเมื่อเด็กๆเริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิดข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็กๆได้ทายหรือทำบัตรคำเพื่อให้เด็กๆได้หาคำนี้จากหนังสือ
5.อ่านตามใจหนู นอกจากหนังสือนิทานภาพสวยๆแล้วยังมีสิ่งอื่นที่เด็กสามารถอ่านได้ เช่น ป้าย คำขวัญ กล่องคำ สิ่งต่างๆเหล่านี้เด็กก็สนใจอยากอ่านเหมือนกัน ครูควรทำการบันทึกการอ่านของเด็กโดยที่ให้เด็กๆเล่าเรื่องที่เด็กสนใจที่เด็กๆได้อ่านให้คุณครูฟัง
6.หนูอยากอ่านเอง สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆที่ซนหยุดนิ่งได้เพราะจะให้เขาเลือกอ่านตามใจชอบจะหยิบอะไรมาจะอ่านอะไรก็ไม่มีใครว่าเมื่อเด็กๆอ่านจบแล้วควรให้เด็กๆได้ทำงานเพราะเพื่อที่เด็กจะได้เกิดความรู้สึกอยากที่จะอ่านเต็มที่
7.เขียนด้วยกันนะ คุณครูชวนเด็กๆมาเขียนด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันครูต้องเป็นผู้เริ่มเขียนให้เด็กๆบอกสิ่งที่ต้องการเขียนเป็นข้อความสั้นๆเด็ก ๆ จะเห็นวิธีการเปลี่ยนความคิดมาเป็นข้อความ เห็นลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม และควรให้เด็ก ๆ บอกให้ครูเขียนเป็นระยะ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็ก ๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเขียน รู้จักตัดสินใจแสดงความคิดเป็นตัวอักษร
8.หนูอยากเขียนเอง เด็กๆจะได้ลงมือมือปฏิบัติเขียนเองจริงๆสักทีให้เด็กได้เขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจพวกเขาทำกิจกรรมและเขียนถ่ายทอดผลงานความคิดออกมา เช่น การบันทึกชื่อนิทาน
ค้นมาจาก
http://www.edba.in.th/EDBA_Main/index.php?option=com_content&view=article&id=59สรุปจากบทความ
8 กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้ความสามารถ หรือ ประสบการณ์เดิมที่เด็กมี เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทฤษฎีการเลียนแบบ และการเห็นคุณค่าภายในตน นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นและมีร่วมในกิจกรรมอีกด้วยการเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ แรกเกิดถึง 7 ปี หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80% ของผู้ใหญ่ ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ
1. การทำงานของสมอง2. การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ
การทำงานของสมอง
สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่ หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
1. ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ“ ฉันฟัง ฉันลืม ฉันเห็น ฉันจำได้ ฉันได้ทำ ฉันเข้าใจ”
2. ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข ไม่ให้เครียด
3. ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ และพยายามเข้าใจเขา เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย ลูกไม่เข้าใจ ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่าแม่รักพ่อรัก แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ แสดงความใส่ใจต่อลูก นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ คนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือคนอารมณ์ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น