วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปการเรียนรู้เพื่อแบ่งปัน




พัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


ความสำคัญของภาษา

                1. ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมรอบๆ ตัว
                2. ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งใน และนอกระบบโรงเรียน
                3. ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดด้วยตนเอง
                4. ภาษาเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
                5. การใช้ภาษาของมนุษย์เป็นเครื่องบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้พูด

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในแต่ละขั้น

          ขั้นที่ 1. ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน
          ขั้นที่ 2. ขั้นเล่นเสียง
          ขั้นที่ 3. ขั้นเลียนเสียง
          ขั้นที่ 4. ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
          ขั้นที่ 5. ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในเชิงพฤติกรรม 7 ระยะ

                1. ระยะเปะปะ
                2. ระยะแยกแยะ
                3. ระยะเลียนแบบ
                4. ระยะขยาย
                5. ระยะโครงสร้าง
                6. ระยะตอบสนอง
                7. ระยะสร้างสรรค์

ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย

                1. เติบโตช้าผิดปกติ สมองช้า
                2. มีอารมณ์ประเภทต่างๆ รุนแรงเกินสมควร
                3. สมองคิดเร็วเกินกว่าที่จะพูดออกมาทัน
                4. ถูกล้อเลียน ทำให้เสียความมั่นใจ ประหม่า ไม่แน่ใจ เคร่งเครียด

บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
          บทบาทของผู้ปกครอง
                   - พ่อแม่ควรพูดให้ชัดเจน
                   - พ่อแม่ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัยเด็ก
                   - พ่อแม่ควรแก้ไขข้อบกพร่องในการออกเสียงของเด็ก
                บทบาทของครูปฐมวัย
                   - เจตคติของครู
                   - บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของครู
                   - ความสามารถในการสอน และการใช้ภาษาของครู

กลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

                1. ใส่ใจกับความสนใจของเด็ก
                2. ตีความหมาย และขยายความจากสิ่งที่เด็กกล่าวมา
                3. ช่วยเด็กคิดหาคำศัพท์
                4. เชื่อมโยงไปยังสิ่งที่เด็กรู้จัก
                5. อธิบายคำศัพท์ที่เด็กไม่รู้มาก่อน
                6. ใช้ประโยชน์จากทักษะทางภาษาที่เด็กมีอยู่แล้ว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น